วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

ส่วนนี้คือไฟล์แบบ HTML ของ http://audit.anamai.moph.go.th/21June48/anamai/project1.ppt G o o g l e สร้างไฟล์ดังกล่าวขึ้นโดยอัตโนมัติ ในขณะที่เราไต่เว็บเพื่อเก็บลงดัชนี.ถ้าต้องการลิงค์มาหา หรือบุ๊กมาร์กหน้านี้, โปรดใช้ url ดังต่อไปนี้: http://www.google.com/search?q=cache:wONplmrHmk4J:audit.anamai.moph.go.th/21June48/anamai/project1.ppt+PVIF&hl=th&ct=clnk&cd=10&gl=th
Google ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ที่สร้างเว็บนี้ และไม่มีส่วนรับผิดชอบกับเนื้อหาภายในเว็บ
ผลการค้นหาถูกเน้นด้วยสี:
pvif

การประเมินความคุ้มค่าของโครงการ
รองศาสตราจารย์ อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ความสำคัญของการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ
การลงทุนต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก
ผลของการตัดสินใจผูกพันต่อการดำเนินงานเป็นเวลานาน
หลายปี
การตัดสินใจลงทุนอาจมีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของกิจการ
หลักการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ
ผลตอบแทน(BENEFIT)
ที่มีตัวตน
ที่ไม่มีตัวตน
ค่าใช้จ่าย(COST)
ที่มีตัวตน
ที่ไม่มีตัวตน
ขั้นตอนการพิจารณาตัดสินในลงทุนในโครงการ
การพิจารณาข้อเสนอของโครงการลงทุน
การประมาณกระแสเงินสดของโครงการลงทุน
การประเมินค่าโครงการลงทุน
การตัดสินใจเลือกโครงการลงทุน
การดำเนินงานตามโครงการลงทุน
การติดตามและประเมินผลโครงการลงทุน

วิธีประเมินความคุ้มค่าของโครงการ
วิธีระยะเวลาคืนทุน(Payback period : PB)
วิธีระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด(Discount Payback period : DPB)
วิธีค่าปัจจุบันสุทธิ(Net Present Value : NPV)
วิธีดัชนีกำไร(Profitability Index : PI)
วิธีอัตราผลตอบแทนจากโครงการ(Internal Rate of Return : IRR)
วิธีอัตราผลตอบแทนจากโครงการแบบปรับค่า(Modified Internal Rate of Return : MIRR)
กระแสเงินสด CF0 CF1 CF2 ………….. CFn
การคำนวณมูลค่าทบต้น (Compounding)
i = อัตราดอกเบี้ยต่องวด
ปัจจุบัน อนาคต
(PV) (FV)
ปลายงวดที่ 0 i% 1 i% 2 ………….. n
ระยะเวลา (n)
(CF)
มูลค่าทบต้น
ในอนาคต
(FV)n หรือ
Terminal Value (TVn)
คณิตศาสตร์การเงิน : ค่าของเงินตามระยะเวลา
กระแสเงินสด CF0 CF1 CF2 ………….. CFn
ปลายงวดที่ 0 i% 1 i% 2 ………….. n
ระยะเวลา (n)
(CF)
การคำนวณมูลค่าปัจจุบัน (Discounting)
ค่าปัจจุบัน
(PVn)
มูลค่าทบต้น ณ ปีที่ 1 = เงินต้น + ดอกเบี้ย 1 ปี
FV1 = PV + INT
FV n = PV (1 + i )n
ตัวอย่าง มูลค่าทบต้นของเงิน 100 บาท เมื่อสิ้นปีที่ 1 มีค่าเท่าไร ถ้าอัตราดอกเบี้ยเป็น 10%
FV1 = 100 (1 + 0.10)1
FV1 = 100 + 10 = 110 บาท
มูลค่าปัจจุบัน Present Value
FV n = PV (1 + i ) n
PV = FV n
(1 + i )n
ตัวอย่าง ค่าปัจจุบันของเงิน 110 บาท ที่จะได้รับใน 1 ปีข้างหน้า ถ้าอัตราดอกเบี้ยเป็น 10%
PV = 110 = 100
(1 + 0.10)1
ข้อสังเกตุ
- ระยะเวลาในการรับเงินในอนาคตยิ่งไกลออกไป
ค่าปัจจุบันจะยิ่งมีค่าน้อยลง
- ถ้าอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราส่วนลดยิ่งมาก
ปัจจุบันจะยิ่งมีค่าน้อยลง
ตัวอย่าง มีข้อเสนอเกี่ยวกับผลตอบแทนการลงทุนในตราสารประเภทหนึ่ง
ดังต่อไปนี้ ท่านจะซื้อตราสารนี้ในราคาเท่าไร ถ้าต้องการอัตราผลตอบแทน
ขั้นต่ำเท่ากับ 8% ต่อปี
ปี C/F
1 100
2 200
3 300
4 400
5 500
1 2 3 4 5
100 200 300 400 500
1,136.49 บาท
PV = 100
(1.08)1
PV = 200
(1.08)2
PV = 300
(1.08)3
PV = 400 ..
(1.08)4
PV = 500
(1.08)5
วิธีระยะเวลาคืนทุน (Payback period : PB)
กรณีกระแสเงินสดสุทธิเท่ากันทุกปี
ระยะเวลาคืนทุน = กระแสเงินสดจ่ายลงทุน
กระแสเงินสดสุทธิรายปี
ตัวอย่าง โครงการ ก.ใช้เงินลงทุนครั้งแรก 600,000 บาท โดยคาดว่าจะได้รับกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานปีละ 80,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี จงหาระยะเวลาคืนทุน
PB = 600,000 = 7. 5 ปี
80,000
2. กรณีกระแสเงินสดสุทธิในแต่ละปีไม่เท่ากัน
ตัวอย่าง โครงการ ข.ใช้เงินลงทุนครั้งแรก 100,000 บาท โดยคาดว่าจะได้รับ
กระแสเงินสดสุทธิ (NCF) จากการดำเนินงานในแต่ละปีดังนี้
ปีที่ 0 -100,000 บาท
1 50,000
2 40,000
3 30,000
4 10,000
ดังนั้น PB = 2 + 10,000
30,000
= 2.33 ปี
ข้อดี-ข้อเสียของวีธีระยะเวลาคืนทุน
ข้อดี
1.คำนวณได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2.ทำให้ทราบสภาพคล่องของโครงการ
โดยโครงการที่คืนทุนเร็ว ย่อมมีสภาพคล่อง
สูงกว่า
3.เป็นตัววัดความเสี่ยงของโครงการได้ โดย
โครงการที่คืนทุนเร็ว ย่อมมีความเสี่ยงน้อยกว่า
ข้อเสีย
1.ไม่ได้คำนึงถึงกระแสเงินสดภายหลัง
จากการคืนทุนแล้ว
2. ไม่ได้คำนึงถึงค่าของเงินในระยะเวลา
ที่ต่างกันว่ามีค่าไม่เท่ากัน
3.ไม่คำนึงถึงความสี่ยงของกระแสเงินสด
ที่จะได้รับในอนาคต
4.ไม่มีเกณฑ์การตัดสินใจที่บ่งชี้ให้เห็นว่า
การลงทุนนั้น ๆ มีส่วนเพิ่มมูลค่าของ
กิจการอย่าไร
วิธีระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด (Discount Payback period :DPB)
ตัวอย่าง จากโครงการ ข. ถ้าบริษัทมีต้นทุนเงินทุนเท่ากับ 10% สามารถ
คำนวณหาระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด (DPB) ได้ดังนี้
ปีที่ NCF PVIF,10% PVNCF
0 -100,000 1.0000 -100,000
1 50,000 0.9091 45,455
2 40,000 0.8264 33,056
3 30,000 0.7513 22,539
4 10,000 0.6830 6,830
DPB = 2 + 21,489 = 2.95 ปี
22,539
วิธีค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV)
NPV = PVNCF – I
โดยที่
PVNCF = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิ
ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง n ที่คิดลดด้วยอัตรา
ผลตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องการ(i%)
I = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายลงทุน
ตัวอย่าง จากโครงการ ข. ถ้าบริษัทมีอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องการเท่ากับ 10% สามารถคำนวณหาค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV)ได้ดังนี้
ปีที่ NCF PVIF,10% PVNCF
1 50,000 0.9091 45,455
2 40,000 0.8264 33,056
3 30,000 0.7513 22,539
4 10,000 0.6830 6,830
ผลรวม PVNCF 107,880
หัก เงินลงทุน (I) 100,000
NPV 7,880
ดังนั้น ควรลงทุนในโครงการนี้ เนื่องจากโครงการนี้ให้ผลตอบแทนมากกว่า
10 % ซึ่งสังเกตได้จาก NPV>0
วิธีดัชนีกำไร(Profitability Index : PI)
PI = PVNCF
I
โดยที่
PVNCF = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิ
ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง n ที่คิดลดด้วยอัตรา
ผลตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องการ(i%)
I = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายลงทุน
ตัวอย่าง จากโครงการ ข. ถ้าบริษัทมีอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องการเท่ากับ 10% สามารถคำนวณหาค่าดัชนีกำไร(PI)ได้ดังนี้
ปีที่ NCF PVIF,10% PVNCF
1 50,000 0.9091 45,455
2 40,000 0.8264 33,056
3 30,000 0.7513 22,539
4 10,000 0.6830 6,830
ผลรวม PVNCF 107,880
หาร เงินลงทุน (I) 100,000
PI = 107,880/100,000 = 1.08
ดังนั้น ควรลงทุนในโครงการนี้ เนื่องจากโครงการนี้ให้ผลตอบแทนมากกว่า
เงินลงทุนคิดเป็น 1.08 เท่า ซึ่งสังเกตได้จาก PI>1
วิธีอัตราผลตอบแทนจากโครงการ (Internal Rate of Return : IRR)
PVNCF = I
โดยที่
PVNCF = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิ
ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง n ที่คิดลดด้วยอัตรา
ผลตอบแทนจากโครงการ(r%)
I = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายลงทุน
ตัวอย่าง จากโครงการ ข. ถ้าบริษัทมีอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องการเท่ากับ 10% สามารถคำนวณหาอัตราผลตอบแทนจากโครงการ(IRR)ได้ดังนี้
ปีที่ NCF PVIF,14% PVNCF
1 50,000 0.8772 43,860
2 40,000 0.7695 30,780
3 30,000 0.6750 20,250
4 10,000 0.5921 5,921
ผลรวม PVNCF,14% 100,811
ผลรวม PVNCF,15% 99,167
อัตราผลตอบแทนจากโครงการ(IRR) อยู่ระหว่าง 14 – 15 %
ดังนั้น ควรลงทุนในโครงการนี้ เนื่องจากโครงการนี้ให้ผลตอบแทนมากกว่า อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องการ(r>i)

วิธีอัตราผลตอบแทนจากโครงการแบบปรับค่า (Modified Internal Rate of Return : MIRR)
ข้อสมมติ:กระแสเงินสดสุทธิที่กิจการได้รับในแต่ละปีสามารถนำไปลงทุน
ต่อโดยได้รับผลตอบแทนในอัตราที่กิจการกำหนด(i%)
PVTV = I
โดยที่
PVTV = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง n
ที่ได้คำนวณทบต้นแล้ว และคิดลดด้วยอัตราผลตอบแทน
จากโครงการแบบปรับค่า(MIRR)
I = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายลงทุน
1 2 3 4
-100,000 50,000 40,000 30,000 10,000
i=10%
i=10%
i=10%
33,000
48,400
66,550
TV = 157,950
MIRR=12.1%
PVTV=100,000
สรุปประเด็นการวิเคราะห์โครงการด้านการเงิน
มุมมองของผู้ประกอบการ(เจ้าของทุน)
เน้นผลกำไรในรูปตัวเงิน(Money Profit)
ค่าใช้จ่ายเป็นตัวเงินที่เกิดขึ้นจริง
การตีค่าโครงการจะใช้ราคาตลาด
รวมภาษีและเงินอุดหนุน
แนวคิดพื้นฐานของการประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์
การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน และทรัพยากรธรรมชาติ ไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของส่วนรวมมากที่สุด
การวิเคราะห์โครงการของรัฐจะต้องนิยามผลตอบแทนในลักษณะที่สะท้อนถึงจุดมุ่งหมายของการพัฒนา ได้แก่
การเพิ่มรายได้ของชาติให้สูงขึ้น
การประหยัดค่าใช้จ่ายของชาติลง
โดยวิเคราะห์ออกมาในรูปของผลตอบแทนส่วนเพิ่มและค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม
แนวคิดพื้นฐานของการประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์
3. การนิยามค่าใช้จ่ายของโครงการใช้หลักค่าเสียโอกาส(Opportunity Cost) ซึ่งหมายถึงผลตอบแทนที่ดีที่สุดที่สูญเสียไป จากการใช้ทรัพยากรไปในทางอื่น
สรุปประเด็นการวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐศาสตร์
มุมมองของสังคมโดยส่วนรวม
เน้นผลกำไรทางสังคม (Social Profit)
ค่าใช้จ่ายที่ไม่ทราบมูลค่าเป็นตัวเงินต้องใช้วิธีประเมินค่า
เช่น อุบัติเหตุ
การตีค่าโครงการจะใช้ราคาที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง เช่น
ราคาเงา ราคาทางบัญชี ราคาตลาด
ประโยชน์จากโครงการต้องประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์เช่นกัน
สรุปความแตกต่าง ของการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และการเงิน
การคิดผลตอบแทน
เศรษฐศาสตร์
คิดทั้งผลตอบแทนที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน
ไม่รวมเงินอุดหนุน
การเงิน
คิดเฉพาะผลตอบแทนที่มีตัวตน
รวมเงินอุดหนุนด้วย
สรุปความแตกต่าง ของการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และการเงิน
การคิดค่าใช้จ่าย
เศรษฐศาสตร์
ใช้ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของสังคมจากการมีโครงการ
คิดค่าเสียโอกาสของการใช้แรงงานและทุนของตนเอง
ไม่รวมค่าดอกเบี้ย และค่าภาษี
การเงิน
คิดเฉพาะค่าใช้จ่ายภายในโครงการ ไม่รวมค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นๆที่ตกแก่สังคม
ไม่คิดในรูปค่าเสียโอกาส
รวมค่าดอกเบี้ย และค่าภาษี

ไม่มีความคิดเห็น: